ทุกๆ การทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันก็มีความเสี่ยงอยู่แล้ว มีตั้งแต่ความเสี่ยงขององค์กร ความเสี่ยงของการปฏิบัติงาน ความเสี่ยงทางการเงิน ความเสี่ยงของกลยุทธ์ในการทำงาน การบริหารจัดการความเสี่ยงควรจะมีอยู่เสมอ เพราะความเสี่ยงมันคือเหตุการณ์ที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ และถ้าหากองค์ของคุณมีแผนและมีความพร้อมในการรับมือกับความเสี่ยง ก็จะมีโอกาสอยู่รอดเสมอ ก่อนที่เราจะไปดูปัจจัยของความเสี่ยงและการควบคุมความเสี่ยง เราต้องไปทำความรู้จักความเสี่ยงกันก่อนว่ามันคืออะไร

ข้อมูลเนื้อหาในหัวข้อนี้

ความเสี่ยงคืออะไร

เป็นเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต และมีโอกาสที่สามารถจะเกิดความผิดพลาดได้ ทำให้การดำเนินงานล่าช้ามีผลกระทบต่อองค์กร ทำให้การดำเนินงานในส่วนต่างๆ ขององค์กรไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์และกลยุทธ์ที่ตั้งไว้ และความเสี่ยงยังมีหลายแขนงขึ้นอยู่กับธุรกิจหรือบริการ

ปัจจัยของความเสี่ยง

มันคือสาเหตุหรือต้นเหตุที่มาของความเสี่ยง ที่จะทำให้การปฎิบัติงานหรือกลยุทธ์ต่างๆ ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ และจะสามารถระบุได้ด้วยว่า เหตุการณ์นั้นจะเกิดที่ไหน เมื่อไหร่ และเกิดอย่างไร ทั้งนี้สาเหตุของความเสี่ยงควรระบุสาเหตุที่แท้จริงเท่านั้น เพื่อจะวิเคราะห์การประเมินความเสี่ยงได้ถูกต้อง ปัจจัยของความเสี่ยงมีจากหลายปัจจัยด้วยกัน โดยแบ่งออกได้เป็น 2 ปัจจัยใหญ่ๆดังนี้

ปัจจัยภายใน
ความเสี่ยงด้านการเงิน ( Financial Risk )
ความเสี่ยงการปฎิบัติงาน ( Operational Risk )
ความเสี่ยงของนโยบาย ( Policy Risk )
ความเสี่ยงของกลยุทธ์ ( Strategic Risk )

ปัจจัยภายนอก
ความเสี่ยงทางการแข่งขัน ( Regulatory Risk )
ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจ ( Economic Risk )
ความเสี่ยงทางการเมือง ( Political Risk )
ความเสี่ยงทางกฎหมายและกฎระเบียบ ( Regulatory Risk )
ความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ ( Natural Events Risk )

การประเมินความเสี่ยง 

การประเมินความเสี่ยง คือ กระบวนการระบุความเสี่ยง วิเคราะห์ความเสี่ยงละจัดลำดับความเสี่ยง โดยประเมินจากการความเป็นไปได้ โอกาสที่จะเกิดและผลกระทบ โดยแบ่งการประเมินออกเป็นสองส่วนดังนี้

โอกาสที่จะเกิด : ความถี่ที่จะเกิดเหตุการณ์
ผลกระทบ : ความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น หากเหตุการณ์ความเสี่ยงเกิดขึ้นจริง 

และความเสี่ยงจะจำแนกออกเป็น 5 ระดับ สูงมาก สูง ปานกลาง น้อย จนถึงน้อยมาก โดยสามารถประเมินได้จากสถานการณ์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจริง

การควบคุมความเสี่ยง

การควบคุมในที่นี่ก็คือ แนวทางหรือการปฎิบัติเพื่อที่จะลดความเสี่ยง และได้แบ่งการควบคุมออกเป็น 4 ประเภทได้แก่  

ควบคุมเพื่อป้องกัน : การควบคุมแบบนี้ เป็นการควบคุมเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นตั้งแต่ต้นหรือไม่ให้มีความผิดพลาดตั้งแต่เริ่ม

ควบคุมเพื่อให้ตรวจพบ : เป็นการควบคุมเพื่อหาข้อผิดพลาดจขากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้ว

 ควบคุมโดยการชี้แนะ : เป็นการควบคุมโดยมีการชี้แนะ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 ควบคุมเพื่อการแก้ไข : เป็นวิธีการควบคุมเพื่อแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดให้ถูกต้อง และแก้ไขไม่ให้มีข้อผิดพลาดซ้ำอีก

ในแต่ธุรกิจหรือองค์กรก็จะมีความเสี่ยงสาเหตุความเสี่ยงที่แตกต่างกันออกไป และแนะนำให้เราประเมินหรือคาดการณ์โอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงอยู่เสมอ เพื่อเป็นการรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในองค์กร เพราะหากมีความเสี่ยงเกิดขึ้นมาจริงๆ เราจะตั้งรับและจัดการปัญญาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด